วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตอนที่๔ ความสำคัญของเปอร์เซ็นต์น้ำยาง

๓ อาทิตย์ผ่านไปสำหรับบ่าวเอ็มที่ลงปฏิบัติงานในพื้นที่ จากสถิติที่จดบันทึกทำให้เห็นว่ามีอัตราการเพิ่มน้ำยางจาก ๙ กิโล มาเป็น ๑๐ กิโล เพิ่มขึ้น ๑ กิโล ทั้งนี้ยังสรุปไม่ได้จากเกิดจากบ่าวเอ็มหรือสภาพดินฟ้าอากาศที่มีฝนตกบ่อยขึ้นกันแน่ จึงมองลงไปที่เปอร์เช็นต์น้ำยาง ที่ยังคงที่ในระดับ ๓๙ เปอร์เซ็นต์ นับว่าดีกว่าสวนในละเวกนี้ กล่าวถึงวิธีการคิดเปอร์เซ็นต์น้ำยางเขาทำกันอย่างนี้ครับ นำน้ำยางมาชั่ง ในอัตรา ๘.๕ ขีด แล้วนำไปอบเวลา ๓ นาที ซึ่งจะได้น้ำหนักยางแห้งจึงนำไปคูณกับราคา ดังสูตรนี้ครับ (น้ำยางสดที่ตัดได้ ๙ กิโลกรัม)
นำน้ำยางสด ๑๐๐ กรัม อบ ๓ นาที เหลือ ๔๐ กรัมเท่ากับ ๔๐เปอร์เซ็นต์
นำยางสดทั้งหมดที่ตัดได้ ๙ กิโล คูณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ ๓.๖ คือยางแห้ง และนำ๓.๖ คูณราคายางที่ซื้อขายในปัจจุบันเช่น ๓.๖คูณ ๑๐๔ บาท เท่ากับ ๓๗๔ บาท
ในวงจรของการค้าขายก็ต้องมีการกำหนดราคาเช่นเดียวกับผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ จึงได้มีสูตรในการคิดดังนี้
ผู้ชื้อจะหักราคาไว้ ที่๑๕ เปอร์เช็นต์ของน้ำยาง
เท่ากับนำยางสดขึ้นชั่งจริงที่ ๘๕ กรัม คูณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ จะเหลือ แค่ ๓๔ เปอร์เซ็ตน์ น้ำยางที่ตัดได้ ๙ กิโลคูณ ๓๔ เปอร์เซ็นต์ คงเหลือ ยางแห้ง ๓ กิโล คูณราคาชื้อขาย ๑๐๔ บาท เท่ากับ ๓๑๒ บาท ซึ่งมีผลต่างที่ ๖๒ บาท
แต่ถ้าผู้ชื้อหักราคาที่ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินจะอยู่ที่ ๓๗๔*๑๕% = ๕๖ บาท
อันนี้ต้องขึ้นกับอนาคตของชาวสวนยาง
แต่สิ่งที่ชาวสวนยางต้องคำนึงถึงเพราะว่าหลายสวนเปอร์เซ็นต์น้ำยางอยู่ที่ ๒๕ ถึง ๒๗ แค่นั้นเอง ลองดูครับ
น้ำยาง ๙ กิโล คูณ ๒๗ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับยางแห้ง ๒.๔ คูณราคา ๑๐๔ เท่ากับ ๒๔๙ บาท ส่วนต่าง ๓๗๔ ลบ ๒๔๙ เท่ากับ ๑๒๕ บาท



ครับที่แสดงให้เห็นมาคงจะมองภาพเห็นน่ะครับว่า ในเวลาเท่ากันของการกรีดยางในแต่ละวัน เปลือกที่สิ้นเปลืองไปก็เท่ากัน แต่ผลมันแตกต่างกัน ผมจึงคิดว่าเราต้องมองไปถึงเรื่องเปอร์เซ็นต์น้ำยางให้มากมากนี้หน่อย
 “คิดอะไรอยู่เหรอ พ่อสื่อ” เสียงต้นยางโสด ข๒ ดังขึ้น
สื่อ.... “ก็เรื่องระหว่างเปอร์เซ็นต์น้ำยางกับปริมาณอยู่ครับ”
“แล้วมันต่างกันอย่างไร”
“ทุกวันนี้ทุกคนไม่ได้สนใจเรื่องเปอร์เซ็นต์น้ำยางกันมากนักครับ  คิดแค่ว่าวันนี้น้ำยางออกมาก ได้เงินมาก ที่จริงมันไม่ใช่หากคิดที่เวลาแล้วมันขาดทุนเห็น ๆ  เพราะ เวลาในการตัด และการเก็บเท่ากัน แต่เปอร์เซ็นต์ที่ดีครับ คือความต่าง”
“พ่อสื่อกำลังคิดว่าจะทำให้พวกเราสามารถผลิตน้ำยางให้มีเปอร์เซ็นต์ดีเท่ากันหรือ”
“ครับเป็นเรื่องที่ผมกำลังคิดอยู่”
“พ่อสื่อต้องเข้าใจไว้อย่างหนึ่งน่ะ หากเปรียบเป็นคน บางคนเกิดมาพ่อแม่เดียวกัน อยู่ในสังคมเหมือนกัน โรงเรียนเดียวกันทำงานที่เดียวกัน สุดท้ายเป็นฝาแฝดกันก็ได้ แต่การทำงานหรือความชอบต่างกัน ผลของมันมีน้อยมากที่จะเหมือนหรือประสบความสำเร็จที่เหมือนกันได้”
สื่อ.. “ถูกต้องครับผมพอจะมองภาพเห็น แต่ในอีกมุมหนึ่ง ทุกคนทุกต้น หากเปรียบเป็นต้นยางแล้ว บางทีความหลากหลายเป็นเรื่องใหม่ และทางใหม่สำหรับต้นยางมากกว่า เพราะต้นยางเองก็เปรียบได้เหมือนคนที่กล่าวมา คือสายพันธุ์เดียวกันอยู่ในที่เดียวกันกินอาหารเหมือนกัน แต่ผลผลิตต่างกัน มันก็ไม่ต่างจากคนหรอกครับ”
“ฮ้าว แล้วพ่อสื่อจะทำอย่างไร”
“ผมจะนำความผิดพลาดของสังคมของคนในปัจจุบัน มาปรับปรุงสังคมของต้นยางใหม่”
“ไปกันใหญ่แล้ว จะทำอย่างไรได้ในเมื่อคนที่ผ่านๆมาก็ยังทำไม่ได้” เสียงสูงเน้นขึ้นจากต้นยาง โสด ข ๒
“ไม่จริงหรอกครับ มีคนทำ แต่สื่อตรงนั้นมันมีน้อย หรือทำแต่ไม่มีสื่อให้คนอื่นรับทราบ”
“แล้วพ่อสื่อมีวิธีการอย่างไร เมื่อมองไม่เห็นทาง”
“เพราะไม่มีทางซิครับ เราจึงต้องสร้างทางขึ้นมาใหม่การยึดหลักมันดี แต่อย่าติดหลัก การยึดหมายถึง การจับพร้อมคลายออกบ้าง มีแนวคิดแนวทำไว้บาง แต่ติดหลัก มันต้องทำอย่างเดียว อย่างที่หลักว่ามา มันไม่ถูก วันนี้ฟ้าดินเปิดเพราะสวนเราอยู่ตรงกลาง ข้างขวาใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ข้างช้ายใช้อินทรีย์ล้วน แต่เราใช้ ชีวภาพ บวก อินทรีย์”
“ฮ้าวปุ๋ยมันมีกี่ประเภทกันเนี้ย ฟังแล้วงงๆ” เสียงจากต้นยาง โสด ข๓ ดังขึ้นมา
สื่อ....“ปุ๋ยแบ่งออกใหญ่ ๆ ที่ผมรู้มี ๓ ประเภท คือ
๑.   เคมี เกิดจากการสังเคราะห์
๒. อินทรีย์ เกิดจากการหมักการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ มูลต่างๆ
๓.  ชีวภาพ เกิดจากสิ่งมีชีวิต
แต่บางคนบางกลุ่มก็แบ่งไปถึงห้าประเภทในแก่
๔.อินทรีย์สกัด เอาแต่สิ่งที่ต้องการ
๕.อินทรีย์เคมี เอาอินทรีย์ไปผสมเคมี (อันนี้มั่วสุด)
ที่ว่ามั่วต้องไปฟังอ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร บรรยายเรื่องการเกิดบนโลกมี ๔ ประการคือ
อัณฑชะกำเนิด
ชลาพุชะกำเนิด
สังเสทชะกำเนิด
โอปปาติกะกำเนิด

อัณฑชะกำเนิด  คือการเกิดจากไข่ที่มีเปลือกแห่งฟองเกิด
นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด

ชลาพุชะกำเนิด คือการเกิดจาก มดลูก เกิด
นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด

สังเสทชะกำเนิด เกิดจากการเน่าเสีย ในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ น้ำเมือก ในเถ้าไคล [ของสกปรก]
นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด

โอปปาติกะกำเนิด เช่นเทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก
นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด
“แล้วมันเกี่ยวกับต้นยางอย่างพวกเราอย่างไร”
“นี่ซิครับ สิ่งที่ต้องเริ่มทำความเข้าใจกันใหม่หมด เพราะชีวภาพ คือสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากสิ่งที่มีชีวิต เพราะต้นไม้กินอาหารได้จากการเกิดแบบ สังเสทชะโยนิ หรือการกำเนิดที่เป็นไคล อันนี้เป็นวิทยาศาสตร์ที่เข้ารู้กันมานานแล้ว แต่ไม่มีใครมาอธิบายให้ชัดๆ”
“เออๆ ฟังแล้วมันส์ไหนเล่าต่อซิ”
“ครับ การที่ต้นไม้ดูดซับสารอาหารที่เป็นเมือกเหลว น้ำครำ หรือไคล ซึ่งเกิดจากการละลายที่กระทำโดยจุลินย์ทรีย์ เป็นการกินอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด และความหลากหลายของต้นพืชแต่ละชนิดที่กิน  และคายสารอาหารเหล่านั้นไม่เหมือนกันทำให้เกิดระบบนิเวศในอาหารหลายอย่าง พืชจึงเลือกกินได้ ถ้านึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงภาพตอนงานบุญที่วัดละกัน บางครั้งเราทำอาหารที่เราชอบไปทำบุญ แต่พอพระฉันเพลเสร็จแล้ว กับข้าวที่วางกองอยู่เรียงรายทำให้เราลืมที่จะกินอาหารของตัวเองไปเลย”
“ใช่ๆ มองเห็นภาพออกแล้ว”
“ครับสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีกระบวนการ คือการทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน”
“อย่างไรจ๊ะเป็นขั้นเป็นตอน”
“เหมือนกับขั้นบันใดนั้นแหล่ะครับ การขึ้นหมายถึงคั่น และตอนหมายถึงพื้นบันใดที่เรายืนอยู่ เมื่อเราขึ้นไปขั้นหนึ่งแล้วก็ต้องดูว่าพื้นกระดานที่เรายืนอยู่มันมั่นคงหรือป่าว ถ้าไม่มั่นคงเราจะก้าวต่อไปน้ำหนักก็จะตกไปอยู่ทีพื้นกระดาน ถ้าไม่มั่นคงเราก็พลัดตกลงมาแน่นอน การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน”
“แล้วขั้นแรก จะเริ่มอย่างไร”
สื่อ “วันนี้ผมต้องไปตัดหญ้าก่อนครับ แล้วจะรีบขึ้นมาอธิบายให้ฟังต่อไป”



วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตอนที่๓ ในใจของสื่อ

หลังจากที่สื่อคุยกับพระแม่ธรณีแล้วก็เดินกรีดยางเรื่อยๆ จนถึงโสดสุดท้าย ที่โสด ก ซึ่งเป็นโสดที่ได้ส่งบ่าวเอ็มขึ้นมาทำหน้าที่ สภาพทั่วไปก็ไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่น้ำยางก็ออกมากขึ้นแต่ก็ไม่มากจนผิดสังเกตุ อาจจะเป็นเพราะฝนตกด้วยก็ได้ สื่อนั่งคิดเพลิน ๆ ก็มีเสียงทักขึ้น
“สวัสดีครับพี่สื่อ” เสียงจากบ่าวเอ็มกล่าวทักทาย
“ครับบ่าวเอ็ม เป็นไงบาง”
“ก็ดีครับ มีใบไม้เยอะมาอยู่ใต้นี้อบอุ่นดี มีมดมาเยอะขึ้นทีแรกก็ไม่เห็นน่ะ แต่พอสองสามวันผ่านไปก็เริ่มมากัน”
สื่อ... “สงสัยได้กลิ่นหวานจากน้ำตาลมั้งเลยมา”
“ใช่ครับก็มาขนเอาเศษจ้าวมะพร้าวบ้างกล้วยบ้าง ได้แล้วก็ขุดดินลงไปเอาอาหารไปเก็บไว้ในบ้านที่อยู่ใต้ดิน”
สื่อ.. “นั้นซิน่ะ มดเองก็มีประโยชน์ใส้เดือนก็มีประโยชน์ แมลงต่างๆ ก็มีประโยชน์ แต่คนหลายๆ คนไม่รู้จักใช้ประโยชน์ของมัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้หากอยู่ในที่เหมาะสมจำนวนพอดีๆ ไม่มากไปไม่น้อยไปก็จะเป็นเครื่องมือให้การพรวนดินได้เป็นอย่างดี เมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่ในดิน ดินก็สามารถรับน้ำ และอากาศในชั้นใต้ดินได้”
มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ไส้เดือนลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน มี อยู่ทั่วไปตามดินชุ่มชื้นร่วนซุย แต่ตามเมืองใหญ่ ๆ ที่เต็มไปด้วยป่าคอนกรีต เราอาจจะพอหาดูได้ตามบริเวณสวนหย่อมหน้าบ้านที่มีใบไม้ทับถมอยู่มาก ๆ และตามพื้นดินที่เป็นแหล่งกองขยะอินทรีย์หรือเศษอาหารจากตลาดหรือชุมชน มัน จะคืบคลานหากินอยู่ตามผิวดินและชอนไชไปตามซอกหลืบของเม็ดดิน ปกติมันจะกินเศษใบไม้และพืชผักเป็นอาหาร ทั้งนี้สังเกตได้ว่าหลังจากที่ไส้เดือนขึ้นมาบนพื้นดินเพื่อหาอาหารกินแล้ว จะพบเศษใบไม้และพืชผักปกคลุมอยู่ตามรูที่มันอาศัยอยู่ นอกจากนี้มันยังกินซากของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เน่าเปื่อย รวมทั้งสัตว์เล็ก ๆ อย่างแมลงและตัวอ่อนของแมลงได้อีกด้วย มันจึงถูกจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) เป็นอาหาร ซึ่งมี วงจรชีวิต ผูกพันธุ์กับดิน ระบบนิเวศที่ดี จะช่วยให้ การแพร่กระจายพันธุ์ เป็นไปด้วยดีเช่นกัน
การ ชอนไชของไส้เดือนทำคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น คือทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ไม่แน่นทึบและแข็ง เกิดการถ่ายเทอากาศภายในดินดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดิน ช่วยในการอุ้มน้ำของดิน การไหลผ่านของน้ำในดินทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ จึงเหมาะแก่การแทงรากออกไปหาอาหารของพืช และผลจากกระบวนการกินอาหารของไส้เดือนยังช่วยพลิกกลับดินหรือนำแร่ธาตุจาก ใต้ดินขึ้นมาบนผิวดิน โดยดิน ซากพืชซากสัตว์ เศษอาหาร และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่ไส้เดือนกินเข้าไป จะถูกย่อยสลายและถูกขับถ่ายออกมาเป็นมูล (cast) ซึ่ง มีธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากและอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน แคลเซียม และธาตุอาหารอื่น ๆ รวมทั้งช่วยส่งเสริมในการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืช ใช้ประโยชน์ไม่ได้ไปอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ไส้เดือนยังช่วยกำจัดแมลงและตัวอ่อนของแมลง เช่น หนอนเจาะลำต้นลองกอง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม ตัวอ่อนด้วงหมัดผัก เป็นต้น การเจริญเติบโตของพืชเบื้องบนจึงเป็นผลมาจากการทำงานเบื้องล่างของไส้เดือน ทุกอย่างสอดคล้องกันไปตาม บทบาทหน้าที่ของไส้เดือนจำนวนมหาศาลใต้ผิวดินทั่วโลก ซึ่งทำประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์อย่างประเมินค่ามิได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า "ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและพืช"(ข้อมูลจากกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนแห่งประเทศไทย)
บ่าวเอ็ม....“แหมสิ่งมีชีวิตในดินนี้ดีจริงๆน่ะครับ แล้วเรื่องอย่างนี้คนทั่วไปไม่รู้หรือครับ”
สื่อ.... “รู้ซิมีหลายคนรู้ รู้แต่ไม่ทำ? ในหนังสือพระมหาชนกตอนบนเรือก่อนที่จะล่มลงไปมีผู้คนอยู่ ๕ คนซึ่งมีผู้ถอดรหัสว่าไว้อย่างนี้ครับ
๑.หัวไวใจสู้ พวกนี้คือรับรู้เร็วคิดเร็ว ทำเร็ว ศึกษาหาความรู้
๒.รอดูทีท่า พวกนี้จะแอบดู หรือคอยดูพวกแรกก่อน ถ้าทำดี ก็ตาม แต่ถ้าเหลวก็อาจจะมีหัวเราะซ้ำหน่อยๆ
๓.เบิ่งตารอคอย พวกนี้ก็เห็นกันบ่อยๆ หาได้ไม่อยากเช่นพอมีงบประมาณมาทีก็เฮกันที หลายๆครั้งที่มีงบประมาณสนับสนุนลงมาพวกนี้แหล่ะครับที่ได้ก่อน ไม่ได้รู้ฟ้าดินอะไรเลย บ้านตัวเองลักษณะน้ำซับน้ำซึม ที่ราบที่ดอนยังไม่รู้ หากบ้านตนอยู่ที่ดอนเค้ามาแจกปลาก็ไปเอา บ้างบ้านน้ำซึมเค้าแจกพรรณไม้ให้ก็ไปเอา
๔.เหงาหงอยจำเจ่า พวกนี้ประเภทไม่ค่อยทำอะไร รอว่าพวกมาจะลากไปทางไหน บางทีเค้าก็พาไปทางที่ดี แต่พอเจอปัญหาก็นั้งบ้างนอนบ้าง เดินกลับบ้าง
๕.ไม่เอาไหนเลย กลุ่มนี้อย่าอธิบายเลยเห็นได้ทั่วไปตามงานบุญ งานศพ เมาอย่างเดียวไม่ค่อยจะทำอะไร
ครับก็เป็นการถอดรหัสจากเรื่องพระมหาชนก หรือก็มีข้อคิด ข้อชวนให้คิด ข้อที่คิดได้ทันที ข้อที่เป็นจริงในปัจจุบัน ข้อที่อาจจะเกิดในอนาคต ทั้งนี้ผู้ที่ยังไม่เคยอ่านก็หาๆ อ่านกันดูครับ โดยเฉพาะองค์กรที่มีส่วนที่มีหน้าที่บทบาทที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยแท้จริง”
“สุดยอดไปเลยครับ” บ่าวเอ็มปรบมือแบบใช้มือไขว้กันเพื่อเกิดเสียงดังกังวาน มากกว่าการปรบมือแบบตรงๆ หรือทำมือเหมือนการไหว้
“แล้วที่พี่ สื่อ พูดมา มันเกี่ยวกับพวกเราอย่างไร”
ทันใดนั้นเหล่าต้นยางก็กิ่งใบสะพัดขึ้น พร้อมมีเสียงกล่าวจากพระแม่ธรณีว่า
“นั้นซิ เจ้าจงขยายความให้ชัดเจนในเรื่องที่เจ้าจะทำเถิดพ่อสื่อ ว่าเจ้ามุ่งหวังสิ่งใดอันเป็นแรงปราถนาของเจ้า”
สื่อ..... “พระแม่ธรณีและพ่อแม่พี่น้องชาวต้นยางที่เคารพรักทุกต้นครับ อ้ายกระผม !!!!....”
“หยุดก่อน หยุดก่อน”......เสียงจากต้นยางโสด ก ๓เบรกขึ้นแล้วว่า
“ขึ้นประโยคนี้ ฟังดูดี แต่ดูๆไปสมัยนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว มันเหมือนสังคมอีกสังคมหนึ่งที่ฟังแล้วดูเหมือนใกล้ แต่ความจริงมันไกลมาก ดีน่ะที่ไม่พูดว่า ท่านประธานที่เคารพ แล้วก็ใช้จังหวะเวลาช่วงนั้น พูดจาอะไรไปเรื่อยๆ ไม่เข้าเรื่อง อาศัยเพียงแต่คิดว่าพูดไปแล้วตนเองดูดี ดูเก่ง มีวาทะศิลป์ ตอนประธานทักแล้วก็ไม่หยุด แถมยังมีลูกเล่นในคำพูดคล้ายๆ กับว่าท่านประธานที่เคารพนั้นก็เคยขอข้าวขอน้ำตนเองกินไปเสียอีก เอาเป็นว่าเรียกพ่อ เรียกแม่ เรียกพี่ เรียกน้องเฉยๆดีกว่าน่ะ บางทีหากข้อความนี้ไปสู่สังคมที่เรียกว่านักการเมือง การจะทำให้บรรยากาศการปรองดองก็ด้วยคำพูดนี้แหล่ะใช้ได้แล้ว เช่นฉันเป็นประธานที่มีอาวุโสทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ สมาชิกเวลาอภิปรายก็น่าจะใช้คำว่า ปู่ ก๓ ครับ หลานสื่อคิดว่า อย่างนั้นอย่างนี้ หรือ ถ้ามีต้นยางต้นหนึ่งตนใด ไปเป็นนายกสวนยาง ก็เรียกพี่ เรียกน้อง เรียกลุงก็ดี เช่น น้องนายกครับพี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ หรือเวลมีอะไรพาดพิง ก็พูดว่าพี่ ก ๔ ครับ น้องว่าที่พี่ ก ๖ พาดพิงมามันไม่จริงอย่างนั้นอย่างนี้ บรรยาศในการประชุมก็คงจะดี อีกอย่างพูดกันมากเหลือเกินเรื่องกฎหมายโลก ศาลโลก มันหาความยุติธรรม ที่จะเลือกใช้ให้ตรงกับตนเองไม่ได้ เช่น ปลาก็อยู่แบบปลา นกก็อยู่แบบนก จะเอากฎหมายของนก มาเพื่อตัดสินวงสังคมของปลาไม่ได้ แม้อยู่บนโลกเดียวกันก็ตาม ต้องดูที่มาที่ไป แต่เค้าก็ไม่ได้ห้ามนี่ครับว่าเราจะเป็นผู้นำในเรื่องประชาธิปไตยของโลกไม่ได้ แม้เกิดมาหลังก็ตาม แต่เราต้องหาให้เจอะว่าหัวใจของประชาธิปไตยคืออะไร มิใช่มองอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ควาย เราต้องเห็นควายทั้งตัว มิใช่เห็นเขาควายแล้วชี้ชัดว่าเป็นควาย แบบนี้ไม่ถูกแน่”
“ พอ ๆ พอเถิด เข้าเรื่องดีกว่า” พระแม่ธรณีปรามให้พวกเราเข้าในประเด็น
สื่อ..... “ครับ ๆ พระแม่ธรณี แต่ที่ลุง โสด ก๓ พูดมาก็มีเหตุผลน่าฟังครับ ลองเผื่อว่าได้ผล ม้นก็เกี่ยวโยงกันนั้นล่ะครับวันนี้ที่ผมมาทำตรงนี้เพราะคิดต่างจากคนอื่น สาเหตุในการคิดต่าง ก็เพราะเห็นมากับตา เลยต้องมาทำกับมือ แล้วพูดให้คนอื่นฟัง มันเหมือนกับมีกระจกอนู่ใกล้ๆ กับตัวตลอดเวลา สังคมทุกวันนี้และที่ผ่านมา เป็นแบบสำเร็จรูปมาโดยตลอด เช่น การเรียน ก็ต้องทำตามครูสอน ไปทำมากกว่า ถูกหาว่า รู้มากกว่าครู แต่ถ้าทำไม่ทัน เรียนไม่ทัน ก็กลายเป็นคนโง่ทันที การเรียนรู้ร่วมกันมันน้อยในสังคมการเรียนรู้ที่ผ่านมาของคนไทย การเรียนเพื่อจะได้ออกจากบ้านไปทำงานหาเงินเยอะๆ เป็นเจ้าคนนายคน เป็นที่ปลูกฝังกันมานาน เรื่องนี้หน่วยงานใดทำสถิติอยู่บ้างก็น่าจะนำมาเผลยแผ่กันบางน่ะครับว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ ที่ประสบความสำเร็จ ความสำเร็จในที่นี้หมายถึงได้นำเงินตราที่หาได้มา กลับมาเลี้ยงดูพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ลูกหลานให้มีชีวิตที่สำเร็จอย่างตนเองได้ ลองดูเถิดครับว่าคนมีความสำเร็จแบบนี้มีกี่มากน้อยเพียงไร วันนี้ที่ผมกระทำอยู่และจะเพียรพยายามทำต่อไปคือการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฎิบัติจริง โดยมีกระดุมเม็ดแรกคือ อะไรบางที่ตนเองทำได้ โดยอาศัยหลักวิชาที่ทำได้โดยง่ายมีผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ และพิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือต่างๆ ในการพัฒนาพื้นดินของตนเองให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จนมีผลไปยังต้นยางทุกต้น ให้ได้รับแร่ธาตุต่างๆ อย่างครบถ้วนครับ”
พระแม่ธรณี..... “ฟังดูก็เพลินดีน่ะ แล้วเจ้าจะทำอย่างไร”
สื่อ ...... “วันนี้ผมเริ่มจากหาจุลินทรีย์ ต่างๆ ที่ได้มาจากการหมัก มีวิธีง่ายๆ เช่นสังเกตุเชื้อราสีขาว โดยไม่มีกลิ่นเปรี้ยวซึ่งเป็นกรด นำมารดในกองใบไม้บริเวณกลางโสด โดยห่างจากต้นยาง ประมาณ ๑เมตร เพื่อไม่ให้ต้นยางได้รับจุลินทรีย์โดยตรง อาศัยสังเกตุวัชพืชที่โดนรดตรงๆ ว่ามีอาการเช่นไร หากวัชพืชไม่ตาย ก็คงจะไม่เป็นอัตรายต่อต้นยางครับ”
พระแม่ธรณี.... “แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ต้นยางจะได้รับผลที่ดี”
สื่อ..... “ก็ดูจากการสนองตอบจากต้นยางเองครับ เพราะที่ผ่านมาก็รู้ว่าแต่ละต้นให้ผลผลิตขนาดไหนอย่างไร”
พระแม่ธรณี... “เจ้ามีการจดบันทึกเหรอ”
สื่อ..... “ครับ อาศัยประยุกต์จากบัญชีครัวเรือนครับ สังเกตุได้ว่าการกรีดยางนั้น เวลาในการกรีดและเก็บน้ำยางเท่ากัน แต่ปริมาณการให้น้ำยางของแต่ละต้นต่างกัน ดังนั้นหากเราบันทึกประวัติต้นยางแต่ละต้นไว้ ก็ง่ายต่อการทะนุบำรุงในแต่ละต้นได้ครับ บัญชีครัวเรือนเป็นตัวบอกให้เราทราบถึงรายรับในแต่ละวัน ตลอดจนคาดการรายรับที่จะเข้ามาได้ครับ ทำให้รู้ว่าหากเราพัฒนาต้นยางโดยมีสถิติเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติแล้วนั้นทางออกทางแก้คงอยู่ไม่ใกล้ครับ”
พระแม่ธรณี...... “เอาหล่ะ ๆ เป็นกำลังใจให้เจ้าละกัน หากวันใดที่เจ้าท้อถอย ก็ให้คิดถึงพระมหาชนกก็แล้วกัน หวังว่าเจ้าคงจะไม่ละความเพียรพยายาม”
......สื่อในฐานะคนกรีดยาง ณ วันนี้ ก็จดบันทึกความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโสดยางหลังจากใส่บ่าวเอ็ม หรือ ที่สากลเรียกว่าอีเอ็ม แล้วเก็บน้ำยางเพื่อลงไปขายต่อไป.......

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตอนที่๒ การทำหน้าที่สื่อ


ตีสองของสามวันผ่านไปสำหรับการส่งบ่าวเอ็มเข้าพื้นที่ ชายคนเดิมกับชุดตัดยางชุดเดิมก็เข้าไปกรีดยางอีกครั้ง
“สวัสดี พี่สื่อ ไม่เห็นหน้าสองสามวันเลยน่ะ” ต้นยางโสด ฉ๑ กล่าวทักทาย
“เรียกผมว่า สื่อ เฉยๆ หรือคุณสื่อ ก็ได้ครับ”
“ฮ้าวทำไม ทีกับบ่าวเอ็ม เห็นพี่สื่อ เฮ้ย คุณสื่อยังแทนตัวว่าพี่เลย”
“บ่าวเอ็ม ผมทำมากับมือ ซึ่งต้องดูแลเขา ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่กับคุณ ๆ ผมอาจจะเรียกพี่บ้าง ลุงบ้าง น้าบ้าง เพราะจริงๆแล้ว พวกคุณมีบุญคุณกับผม น้ำยางที่ออกมาผมเอาไปแลกกับเงินเพื่อเลี้ยงชีพ อันนั้นเหมือนคุณเป็นประชาชนดี ๆ นี่เองที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐเพื่อนำพาไปพัฒนาประเทศ”
“แหมถามนิดเดี่ยวตอบซะยาวเลยแต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี”
“คืออย่างนี้ครับ วันนี้ผมทำหน้าที่สื่อ สื่อที่ต้องนำความจริงไปแสดงต่อสาธารณะชน อันที่ว่าความสำนึกรู้บุญคุณต่อต้นยางทุกต้นนั้น เป็นความรู้สึกในใจ แต่ด้วยหน้าที่ของสื่อ จะต้องเป็นกลางตรงไปตรงมา หากวันหนึ่งที่บ่าวเอ็มทำงานไม่ดี ผมก็ต้องบอกว่าไม่ดี แต่ถ้าบ่าวเอ็มทำงานดี แต่คุณๆ ต้นยางไม่สนองตอบก็ต้องว่ากันไป  ทั้งนี้ต้นยางทั้งหมดอาจะมีดีหลายต้น และที่ไม่ดีคงจะมีเหมือนกัน  ดังนั้นหากผมทำตัวสนิทสนมกับคุณต้นยาง ในฐานะพี่ ๆ น้องๆ แล้ว เกรงว่าการทำหน้าที่ของสื่อจะไม่เป็นกลาง”
“ฮ่า ๆ ห้า” เรียกหัวเราะจากต้นยางโสด ช ๒ ดังขึ้น และพูดต่อว่า
“เหมื่อนกับที่มีเสียงจากโทรทัศน์ที่พูดได้ใช่หรือป่าว วันก่อนมีพวกมาเก็บขี้ยาง เวลาที่พวกมันมาก็ช่วงบ่ายกว่าๆ เก็บแล้ววางไว้ที่เดิมก็ไม่ว่า บางทีมันแกะไม่ออกเอาไปทั้งพกเลย เป็นเจ้าของก็ไม่ใช่สงสัยเป็นพวกขโมยแน่ บ้างทีก็เอาถังเก็บน้ำยางไปด้วย”
“ไม่ต้องสงสัยแล้วครับ มันเป็นขโมยจริงๆ แล้วที่ว่าโทรทัศน์พูดได้เป็นอย่างไรหรือครับ” สื่อถามออกไป
“ ก็เห็นตอนมันเปิดดูเป็นรูปภาพเคลื่อนไหวได้ แล้วบางทีก็มีเสียง กริ้งๆ แซกเข้ามา มันก็กดรับแล้วฮะโหลหวัดดีครับได้ด้วย”
“ฮึ ๆ มันเรียกว่าโทรศัพท์ครับ แต่สมัยนี้ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ กล้องถ่ายรูป มันก็อยู่ในเครื่องเดียวกันแล้วครับ”
“โอ่ ทันสมัยจริงๆ ทำไมไม่มีวิวัฒนาการมาให้พวกเราบ้างน่ะ บางทีจะไปคุยกับโสดข้างบนก็ต้องฝากข้อความไปกับนกบินหลาบาง นกเขาเล็กบาง แต่จะไม่ฝากไปกับมดแล้ว เพราะบางทีกว่ามดจะกลับมาเป็นปีเลย มีหลายปีที่ผ่านมา มดพึ่งพาอะไรไม่ได้เลย พอหญ้ารกเมื่อไร เห็นคนแบกถังเหลือง ๆ มา ตายกันเกลี้ยง พวกเราเองก็ปากเจ็บปากพองไปตามๆ กัน”
“มันเป็นอย่างไรหรือครับ” สื่อถามออกไป         
“ก็มันเล่นตายถึงรากถึงโค่น ต้นหญ้ามีรากมีโค่น พวกเราก็มีรากมีโค่นเหมือนกัน ที่เหลือคิดเอาเอง เดี๋ยวมันจะลามปามมากไป”
“เข้าใจแล้วครับ” สื่อตอบกลับไปอีกครั้ง
หลังจากนั้นสื่อก็ลงมีดกรีดยางทันที ณ  ต้นยางที่โสด ฉ ๑-๖ น้ำยางก็ออกเป็นปรกติดีแต่ ต้นที่ ๗และ๘ ไม่ค่อยออกเลย
“เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นไรไม่ค่อยมีน้ำยางเลย วันก่อนฝนก็ตกลงมาให้แล้ว นึกว่าจะดี แต่ก็ป่าวเลย” ต้นยาง ฉ๗ พูดแบบเซ็งๆ”
“ใช่แล้ว ฉันก็เหมือนกัน” เสียงของต้นยาง ฉ๘ พูดออกมา
สื่อวันนี้ในฐานะผู้กรีดยางหันไปมองต้นยางทั้งสองต้น ใช้มือลูบต้นยางที่เป็นตะปุ่มตะป่ำ แล้วพูดไปว่า
“มีรอยบาดเยอะคงจะเกิดจากการตัดที่ไม่ดี”
สื่อมองดูอย่างพิจารณา เป็นสภาพต้นยางทั้งสองมีคราบดำติดเต็มไปหมด และที่รอยกรีดก็มีน้ำเหลืองๆ ซึมออกมากด้วย
“ไม่จริงหรอกครับ” เสียงของต้นยางโสด ฉ๙ พูดและกล่าวต่อไปว่า
“ดูฉันซิ สภาพก็ไม่ต่างไปจากสองต้นนั้น แต่น้ำยางฉันออกมากกว่า ทั้งที่สายพันธ์เดียวกัน ปลูกพร้อมกัน อยู่ใกล้กัน”
“แล้วพอจะบอกสาเหตุผมได้หรือป่าวครับ”
“คงไม่ได้หรอกครับ ที่ไม่ได้เพราะผมเองก็ไม่รู้ เวลาผู้มีความรู้มาดูอาการ หนึ่งคนก็บอกหนึ่งอย่างไม่รู้จะเชื่อใครดี พวกเราก็พูดได้ว่า เค้าเล่ามา เค้าบอกมา คุณสื่อครับหากคุณมีความตั้งใจจริง มีความเพียรแล้ว ผมว่าเทวดาฟ้าดิน ก็จะให้คำตอบได้ครับ แต่ขอร้องอย่างหนึ่งเถิดครับพวกสารเคมีต่างๆ เลิกเถอะครับ ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร ปุ๋ยบ้าง โฮโมนบ้าง สารกระตุ้นบาง มันดีแรก ๆ ครับ แต่มดแมลงตายหมด แล้วรากก็พวกเราที่อยู่ลึกลงไปจะเอารูอากาศหายใจ สุดท้ายที่จะต้องตายก็คือพระแม่ธรณี”
“ใครกันเสียงฉัน” เสียงจากพระแม่ธรณีทักขึ้น
“สวัสดีครับ แม่ธรณี ผมกับพี่ โสด ฉ ๙ กำลังคุยกันครับ”
“อ้อคุณสื่อเหรอ เป็นไงบ้างฝนตกก็ไม่ได้มากรีดยางซิน่ะ”
“ครับ ผมก็พึ่งรู้คราวนี้ล่ะครับว่าเมื่อก่อนคนกรีดยางต้องลำบากแค่ไหน เพราะกรีดทุกวันก็ไม่ได้ หนึ่งเดือนอย่างเก่งก็กรีดได้แค่ ยี่สิบวัน เหลือสิบวันไม่มีรายได้ และยิ่งเป็นหน้าฝนจะทำอย่างไรล่ะครับ”
พระแม่ธรณี “มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น ๆ เพราะทำกันมาแบบนี้ ตลอดจะแก้อย่างไร ฝนตกก็ต้องหยุด”
“ผมกำลังคิดว่า กลางร่องยางที่มีพื้นที่อยู่จะหาอะไรมาปลูกแซมดี ไว้เก็บกินได้ เช่น พวกหัวมัน สัปรด มะม่วง กล้วย ฯลฯ”
“จ๊ะ ๆ เชิญเลยจะปลูกอะไรก็ช่าง ไม่ลองไปถามคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ก่อนเหรอเขาจะว่าอย่างไร”
“ถามแล้วครับ เค้าบอกว่ารกบาง แย่งปุ๋ยต้นยางบาง บางทีถ้ามีกองทุนเข้ามาก็เป็นอีกเรื่องเลยครับ”
“ก็ใช่น่ะซิ แล้วทำไมเจ้ามีความคิดแปลกๆ ขึ้นมา”
“ไม่แปลกหรอกครับ ไปเห็นที่ต่างจังหวัดมาเค้าปลุกต้นยาง อยู่เป็นป่านานาพรรณก็เห็นน้ำยางออกดีเหมือนกันครับ ไม่เห็นต้องใส่ปุ๋ยเลย”
“ที่เจ้าเห็นนั้นเรียกว่ามีระบบนิเวศที่ดี เพราะมีพืชหลายชนิดหลายระดับ หลายสายพันธ์ เจ้าลองไปดูไร่พืชเชิงเดียว จะเห็นว่าอัตราการย่อยสลายใบไม้น้อยกว่า การปลูกพืชแบบผสมผสาน และส่วนใหญ่จะให้สารเคมี ที่ชื่อว่าปุ๋ยส่งเอาสารที่พืชนั้นๆ ต้องการเพื่อการเจริญเติบโต ไอ้สารอย่างเดียวไม่ว่า การที่จะทำให้สารเหล่านั้นอนู่ด้วยกัน ต้องเอาเศษหินหรือกากน้ำมันมาปั้นเป็นก้อนๆ แล้วพ่นสารรวมลงไปเรียกว่าการปั้นเม็ด สุดท้ายเมื่อพืชกินสารอาหารหมดก็จะเหลือเพียงเศษหินแข็ง ๆ ทำให้ดินตาย เพราะขาดอากกาศและน้ำที่จะซึมลงไปได้ ไม่ต้องไปนึกถึงมดแมลง หนำซ้ำยั้งฉีดยาฆ่าหญ้าอีก มันจะอะไรกันหนักกันหนา พูดแล้วเหนื่อยพอก่อนน่ะ เจ้าไปกรีดยางต่อเถิดแล้วค่อยคุยกันต่อ”
“ครับพระแม่ธรณี” สื่อตอบกลับไปแต่ในใจคิดหนักกว่าเดิม........

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตอนที่๑ กำเนิดบ่าวเอ็ม

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า “บ่าวเอ็ม” จำนวน ๒ ถัง เดินผ่านกองปุ๋ยหมัก และขวดเก็บน้ำส้มควันไม้ ที่ส่งสายตามองด้วยความหวังว่า “บ่าวเอ็ม” คงจะทำงานนี้ได้สำเร็จน้ำส้มควันไม้อดที่จะกล่าวทักบ่าวเอ็มก่อนผ่านไปว่า “น้องบ่าวเอ็มจ๊ะ มีปัญหาอะไร ให้ส่งข่าวมา แล้วพี่กับพี่ปุ๋ยหมักจะตามไปช่วย” บ่าวเอ็มหันหน้ากลับมายิ้มแต่ในดวงตามีความวิตกกังวนที่มิอาจซ่อนไว้ได้ “ครับผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด”
บ่าวเอ็มขึ้นรถจักรยานยนต์คนเก่า ๆ โดยนั่งบนกระสอบป่านที่เย็บให้เป็นที่เก็บสิ่งของต่างๆ ของชาวสวนยาง ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำยาง ปิ่นโต น้ำ เครื่องตัดหญ้า ฯลฯ ก็จะใช้กระสอบข้างนี้ล่ะเป็นเครื่องมือในการนำพา บ่าวเอ็มนั่งมองดูสองข้างทางที่เต็มไปด้วยต้นยาง แต่ก็มีต้นมะพร้าวสลับกันไปบ้าง

ต้นมะพร้าว นี่แหล่ะที่เป็นต้นกำเนิดของบ่าวเอ็มโดยใช้จ้าวมะพร้าวกับน้ำมะพร้าวผสมกับกากน้ำตาลหรือบางครั้งก็เติมน้ำตาลอ้อย หรือบางครั้งก็มีผลกล้วยที่สุกลงมาผสมปนเปไปด้วย มีถังที่มีฝาปิดเป็นบ้านพักโดยอยู่ในนั้นเหมือนเข้าค่ายพักแรม เพราะต้องอยู่กันนานถึง ๓ เดือน มีอากาศในถังนิดหน่อย น้ำตาลนี่เองที่เป็นอาหารให้บ่าวเอ็มกำเนิดเกิดขึ้นมาได้ บางทีก็เห็นคนมาเปิดให้เห็นแสงสว่างพร้อมเอาจมูกมาดม ๆ เวลาที่บ่าวเอ็มมีกลิ่นตัวออกเปรี้ยวๆ คนก็หมักจะเอาน้ำตาลมาเติมให้กินอยู่เสมอๆ วันก่อนเห็นมีคนเอาหนังสือมาวางไว้บนถัง เลยอ่านดูเห็นเค้าเขียนว่า
วิธีการหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ อ่านดู ก็ไม่เข้าใจ มันต้องมีผลไม้บ้าง ดินในป่าลึกบ้าง น้ำตาลบ้าง กากน้ำตาล บางทีมีไปถึงการชื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์มาอีก งงๆ กับเค้าจริง ๆ บ่าวเอ็มนึกถึงภาพวันเก่าๆ ที่เป็นจุดกำเนิดตนเอง ที่มีเพียงน้ำมะพร้าว จ้าวมะพร้าว น้ำตาลทรายแดงบ้าง น้ำตาลอ้อยบ้าง กากน้ำตาลบ้าง กล้วยสุกบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันก็อยู่รอบข้างบ่าวเอ็มเอง แต่ก็นึกแปลกใจเหมือนกันว่า ทำไมไอ้น้ำตาลขาวๆ สวยๆ เค้าไม่เอามาให้เรากินบ้างน่ะ
นั้งรถมาเพลินๆ ก็ต้องลงเห็นคนเค้าหิ้วเราขึ้นควนไปอีกพักหนึ่ง เดินผ่านต้นยางสัก ๑๐ โสดเห็นจะได้ แล้วก็มาถึงสุดยอดก็ควนได้ยินเสียงแฮ่ๆ ของคนที่หิ้วขึ้นมา ชีวิตแกเป็นอย่างนี้ทุกวันหรือป่าวคงลำบากหน้าดู และแล้วฝาถังก็ถูกเปิดออกบ่าวเอ็มสูดหายใจเข้าเต็มปอด หน้าที่ของเรามาถึงแล้ว หน้าที่ที่ต้องปรับปรุงบำรุงดินทำให้ให้ดินมีชีวิตขึ้นมาให้จงได้
สภาพดินในตอนนี้มองซ้ายทีขวาทีก็ไม่เห็นใครๆเลย นานๆ จะมีมดผ่านมาสักที ว่าแล้วคนที่หิ้วและทำเรามาก็ขุดดินลงไปสองถึงสามหน้าจอบ เอาเศษใบไม้แถวนั้นใส่ลงไปแล้วก็ยกเราราดลงไป แล้วก็เอาใบไม้มาทับอีกที พร้อมถมดินลงมาพอที่จะมีอากาศผ่านเข้ามาได้ แถมยังเอาเศษไม้ใบมาคลุมข้างบนอีกที แหมมันสบายจริงๆ
“สวัสดีจ๊ะบ่าวเอ็ม” เสียงผู้หญิงวัยกลางคนที่แสนอบอุ่นดังขึ้น
“ใครนะ ใคร?.”
“ฉันเอง ดินไง หรือที่ใคร ๆ เรียกฉันว่า พระแม่ธรณี”
บ่าวเอ็มหันไปมองพร้อมกับก้มลงกราบเท้าแม่ธรณี ในทันได้ เสียงฮือ ๆ ดังกึกก้อง กิ่งใบยางโน้มก้มลงสะดุดี ชื่นชมต่อบ่าวเอ็มทีรู้จักรักและมีความเคารพต่อพระแม่ธรณี พระแม่ธรณีที่ไม่เคยดุด้าว่าร้ายใคร พระแม่ธรณีคือที่รองรับเท้าทุกคนเมื่อเดินก้าวแรก ทุกอย่างไม่ว่า น้ำลาย เยี่ยว ขี้ ขยะ ฯลฯ ที่ราดใส่เทใส่พระแม่ธรณี มิหน่ำซ้ำยังจุดไฟเผาเข้าให้อีก หลายครั้งที่คนกระทำเช่นนั้นไม่รู้ถึงคุณค่าก็ไม่เป็นไร แต่คนที่ต้องการศัยพื้นดินในการทำกินของภาคเกษตรควรคิดให้จงหนัก “เกษตรบ้านเราทำผิดมาตลอด ผิดตั้งแต่เรา ปลอกเปลือก เปลือยดิน” คำที่ได้ยินว่าอ.ยักษ์เคยพูดถึงใน สือชุดคนหวงแผ่นดิน บ่าวเอ็มนึกถึงความหลัง
“ลุกขึ้นเถอะบ่าวเอ็ม” พระแม่ธรณีโอบกอดบ่าวเอ็มด้วยความเอ็นดู
“ที่เจ้ามานี่ก็ดีแล้ว เพราะเจ้าทำให้องค์ประกอบของดินดีขึ้น เพราะดินเองจะดีได้ต้องอาศัย เนื้อดิน ๔๕ เปอร์เซ็นต์ น้ำ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ อากาศ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวเจ้า ๕ เปอร์เซ็นต์”
“พระแม่ธรณีครับ ทำไมผมมีค่าน้อยจังเลยครับ”
“ไม่น้อยหรอก นั้นคือองค์ประกอบของดิน มีแค่นี้ก็พอแล้ว หากมีอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปก็ไม่สมบูรณ์ เช่นถ้าขาดน้ำดินก็จะแข็ง น้ำมากก็กลายเป็นโคลน”
“แล้วทำไมเค้าเอาผมมาใส่ที่นี้ล่ะครับ”
“ถ้าดูจากวิธีการใส่ เป็นการปรับปรุงดิน เพราะการขุดดินลงมา เพื่อต้องการเก็บเจ้าใว้ที่จุดนี้ การเอาเศษใบไม้มาถมเจ้า เพื่อสร้างบ้านให้เจ้าอยู่ และเศษใบใม้ที่ถมอยู่ข้างบนสุดนั้น เรียกกว่าการห่มดิน ทำให้ดินมีสภาพร้อนและชื้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อต้นไม้ต่อไป”



“แล้วอะไรที่ต้นไม้เค้ากินไปเพื่อให้เจริญเติบโต เพื่อให้ดอกให้ผลล่ะครับ”
“ฮื่อ ๆ เจ้านี่ถามมากจริงๆ คงจะซนหน้าอยู่” เสียงที่ใหญ่ก้องดังออกมาจากต้นยางขนาดใหญ่ที่มีรอยกรีดเป็นแผล เป็นร่องลอยของการกรีดเอาเนื้อหนังออกไปแทบทั้งต้น
“สวัสดีครับลุง” บ่าวเอ็มทักทาย
“เออ ไหว้พระเถิดว่ะ เอ็งนี้คงจะทำให้พวกข้าดีขึ้นบ้างน่ะ”
“จริงๆ ด้วยดีใจจัง เย้ ๆๆๆ” เสียงจากต้นยางกว่า ๑๐ ต้น ร้องทักอย่างดีใจ
“มันจะได้เรื่องหรือว่ะ กับไอ้แค่น้ำหมักเน่าๆ เนี๊ย” ต้นยางอีกต้นที่มีสภาพรอยกรีดแล้วหยุดไปนาน มีร่องรอยก็คราบดำ ๆ ที่เป็นเชื้อรา หรือยางหน้าตาย ทักขึ้นอีกคน
“เอาน่า เด็กมันตั้งใจมาแล้วก็ลองดูกันไปก่อน” พระแม่ธรณีทักให้ทั้งสองไม่ต้องเถียงกัน
“เอาอย่างนี้ไม๊ ฉันว่าทำให้คนที่พาเจ้าบ่าวเอ็มมา พูดคุยกับเราด้วยดีไม?”
“ดีครับ ดี หากมีอะไรที่ผมทำไม่ได้ จะได้บอกเค้าไปถึง พี่น้ำส้มควันไม้ และพี่ปุ๋ยหมัก ที่อยู่ข้างล่างครับ” บ่าวเอ็มพูดอย่างดีใจ
“เดี๋ยวมันก็หัวโก๋นกันพอดี ยิ่งตอนมันมากรีดน้ำพวกเรา ตีสามตีสี่” ยางหน้าตายพูดเยอะขึ้นมา
พระแม่ธรณี “ไม่หรอกเวลาเค้าจะเยี่ยวก็ยังขอโทษขอโพย เทวดาฟ้าดินเป็นประจำ”
“นี่พระแม่ธรณี ฝากบอกเค้าด้วยน่ะ เวลาเยี่ยว ให้ไปที่ต้นอื่น บ้าง จะมาปวดเยี่ยวอะไรที่ต้นของผมทุกที” เสียงจากยาง โสด ก ต้น ๔ พูดมาใกลๆ
พระแม่ธรณียิ้ม แล้วว่าคาถาออกไป
“เจียมใด๋โอ๊ใด๋เจียมตะนำ เจียมใด๋โอ๊ใด๋เจียมตะนำ เจียมใด๋โอ๊ใด๋เจียมตะนำ”
ทันใดท้องฟ้าก็มืด พร้อมกับสายฝนที่โปรยลงมา ลมพัดโชยกลิ่นน้ำหมักชีวะภาพที่ชื่อบ่าวเอ็ม หอมอบอวนไปทั่วบริเวณ คนที่พาเจ้าบ่าวเอ็มขึ้นมารับรู้ได้ว่า บัดนี้พระแม่ธรณีรับทราบถึงการกระทำในครั้งนี้แล้ว พร้อมกับกล่าวทักทายพระแม่ธรณี แล้วนั้งลงพูดกับบ่าวเอ็มว่าถ้าบ่าวเอ็มทำสำเร็จก็จะเกิดกระบวนการนี้ขึ้นว่าแล้วก็เปิดวีดีโอข้างล่างให้บ่าวเอ็มดู



เป็นไง การทำให้ดินมีชีวิตมีผลดีอย่างไร"
ว่าแล้วก็ลุกขึ้นเดินไปทีต้นยางหน้าตายพูดว่า
“ยางหน้าตาย อีกไม่นานจะคงจะหายเป็นปกติ และก็จะสบายตัวขึ้น” และกลับมาหยิบถังเดินออกไป
“เดี๋ยว ๆ เจ้า ๆ เจ้าชื่ออะไร?”
ชายผู้นั้นในชุดเสื้อแขนยาวกางเกงขายาว ที่เปรื้อเปือนด้วยขี้ยางใส่รองเท้าบูท หันกลับแล้วพูดว่า
“ผมชื่อ สื่อครับ สื่อ ผู้จะนำเรื่องราวเสียงจากป่ายางไปเล่าต่อให้คนอื่นๆ ฟัง